ไม้ลามิเนต กับไม้เอ็นจิเนียร์ เลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์การใช้งาน

  • ไม้ลามิเนต กับไม้เอ็นจิเนียร์ เลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์การใช้งาน ไม้ลามิเนต กับไม้เอ็นจิเนียร์ เลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์การใช้งาน
    แม้มองเพียงผิวเผินอาจจะรู้สึกว่าไม้ลามิเนตและไม้เอ็นจิเนียร์มีความเหมือนกัน ด้วยโทนสีและลายไม้ที่มีความเป็นธรรมชาติ แต่ความจริงแล้ววัสดุทั้งสองชนิดนี้ที่คนส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ปูพื้นภายในที่อยู่อาศัยให้สวยงามนั้นมีความแตกต่างกันออกไป

    ไม้ลามิเนต (Laminate) ลามิเนต ตามความหมายในภาษาอังกฤษนั้นอธิบายไว้ถึงลักษณะลามิเนตว่าเป็นชั้นบาง ๆ ซึ่งถูกนำมาใช้เรียกพื้นไม้ลามิเนตที่มีลักษณะเป็นแผ่นไม้บาง โดยผ่านกระบวนการผลิตด้วยการบีบอัดไม้จากความแรงดันสูงและความร้อนที่ประกอบเข้ากันกับวัสดุชนิดอื่นอีกหลายชั้น รวมทั้งหมด 4 ชั้น ได้แก่

    ชั้นแรก เป็นชั้นพื้นผิวบนสุดของลามิเนต ซึ่งได้รับการผลิตให้มาพร้อมประสิทธิภาพในการป้องกันรอยขีดข่วนและพร้อมรองรับแรงกระแทกได้ดี โดยไม่ทำให้พื้นผิวเกิดเป็นร่องรอยที่ไม่สวยงามหรือเกิดการบุบยุบตัวจากการกระแทกด้วยของแข็งมีน้ำหนัก
    ชั้นที่สอง เป็นชั้นลายไม้ที่ผ่านกระบวนการออกแบบโดยคอมพิวเตอร์สำหรับทำลวดลายไม้ให้มีความสวยงามเป็นธรรมชาติ เพื่อเติมเต็มความสวยงามให้วัสดุพื้นไม้ที่ไม่ได้มีลวดลายชัดเจนดูสวยงาม โดดเด่น และมีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด
    ชั้นที่สาม เป็นชั้นของไม้จริง โดยมีการนำไม้เนื้อแข็งมาย่อยก่อนอัดแน่นและทำให้อยู่ในรูปแบบของแผ่นไม้ ด้วยวิธีการแบบ  High Density Fiberboard ที่มีลักษณะคล้ายกับไม้จริงมากที่สุด แต่โดดเด่นด้วยคุณสมบัติที่มีความยืดหดตัวน้อยกว่าไม้จริง รวมถึงประสิทธิภาพที่มีความแข็งแรงทนทาน ด้วยการผสมผสานสารป้องกันความชื้น พร้อมสารป้องกันปลวกและแมลง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ไม้ลามิเนตมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
    ชั้นที่สี่ เป็นส่วนชั้นล่างสุดของไม้ลามิเนต ซึ่งเกิดจากการนำแผ่นพลาสติกที่สามารถป้องกันความชื้นและปลวกได้ดีมาใช้ประกอบเข้ากันเป็นชั้นสุดท้ายของไม้ลามิเนต ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้ลามิเนตมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้มากกว่าไม้จริง

    คุณสมบัติของไม้ลามิเนต
    ไม้ลามิเนตเป็นวัสดุที่สามารถนำมาติดตั้งได้อย่างง่ายดาย ด้วยการใช้ระบบคลิกล็อค โดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีตอกด้วยตะปูหรือยึดติดด้วยน็อตสกรูให้วุ่นวาย จึงทำให้สามารถติดตั้งไม้พื้นลามิเนตได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย อีกทั้งยังพร้อมมอบความสวยงามให้กับพื้นที่อยู่อาศัยได้อย่างลงตัว และด้วยวัสดุที่ได้รับการผลิตมาเป็นอย่างดี จึงทำให้ไม้ลามิเนตมาพร้อมคุณสมบัติที่ไม่ทำให้เกิดการสะสมเชื้อโรคและแบคทีเรียบนพื้นผิวหรือในเนื้อไม้ พร้อมทั้งยังมีความแข็งแรงทนทาน สามารถทนต่อการรองรับแรงกระแทกและรอยขีดข่วนได้ดี หรือหากเป็นพื้นที่ภายในบ้านที่ต้องเผชิญกับแสงแดดก็ไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผิดรูปกับไม้ลามิเนต นอกจากนี้ยังมีเฉดสีให้เลือกนำไปตกแต่งบ้านและอาคารต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลายตามความชอบ

    ข้อสังเกตสำหรับไม้ลามิเนต
    แม้ลามิเนตจะมีคุณสมบัติที่มีความแข็งแรงและทนทานได้ดี แต่ก็ไม่สามารถทนต่อความชื้นสูงได้มากนัก โดยเฉพาะหากมีน้ำหกลงบนพื้นลามิเนตภายในห้องจึงควรเช็ดให้แห้งทันที เพราะหากปล่อยน้ำที่หกทิ้งไว้บนพื้นลามิเนตเป็นเวลานานก็อาจส่งผลต่อพื้นผิวลามิเนตได้เช่นเดียวกัน ที่สำคัญคือควรมีการติดตั้งลามิเนตบนพื้นที่มีความเรียบได้ระดับอย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยทำให้ไม่เกิดเสียงดังบนพื้นลามิเนตในขณะเดินไปมาภายในห้อง โดยวัสดุชนิดนี้จะไม่สามารถขัดลอกสีเดิมออกเพื่อเปลี่ยนเป็นสีใหม่ได้ เพราะเป็นวัสดุที่ผ่านกระบวนการผลิตแบบสำเร็จรูปด้วยการนำวัสดุที่มีความแตกต่างกันมาอัดแน่นรวมกันในแต่ละชั้น จึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพเดิมของวัสดุได้ตามต้องการ

    ไม้เอ็นจิเนียร์ (Engineered Wood)
    ไม้เอ็นจิเนียร์ เป็นไม้พื้นชนิดหนึ่งที่เกิดจากการนำไม้ธรรมชาติมาผ่านการผลิตด้วยเทคโนโลยีทางวิศวกรรม เพื่อทำให้ไม้เอ็นจิเนียร์มีคุณสมบัติที่แข็งแรง ทนทาน และสามารถใช้งานได้ยาวนาน ด้วยการอบหรือเคลือบน้ำยากันปลวกและแมลงต่าง ๆ โดยไม้ที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตจะเป็นไม้ธรรมชาติที่เกิดจากป่าปลูก ด้วยการปลูกไม้ขึ้นมาเพื่อใช้งานโดยเฉพาะ เพื่อไม่เป็นการตัดไม้ทำลายป่าและทำลายระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ โดยไม้เอ็นจิเนียร์จะมีลักษณะเป็นชั้น ๆ ประกอบเข้าไว้ด้วยกันจำนวน 3 ชั้น โดยแบ่งออกเป็น

    ชั้นแรก เป็นพื้นผิวไม้ธรรมชาติที่ฝานมาจากไม้ซุงจนเป็นแผ่นไม้บาง ๆ ที่มีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร โดยไม้ส่วนใหญ่ที่นำมาใช้เป็นผิวไม้ชั้นแรกจะเป็นไม้ประเภท ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้โอ๊ค เป็นต้น
    ชั้นที่สอง เป็นไม้ยูคาลิปตัสที่ถูกนำมาฝานจนเป็นแผ่นบาง ก่อนที่จะนำมาซ้อนกันเป็นชั้น เพื่อช่วยลดการขยายตัวของไม้พื้น
    ชั้นที่สาม ส่วนชั้นล่างสุดของพื้นไม้ชนิดนี้จะเลือกใช้ไม้เนื้อแข็งที่มีความแข็งแรง โดยมีการนำไปพ่นน้ำยากันความชื้นอีกชั้นหนึ่ง
    The City สะพานเจษฏาบดินทร์

    คุณสมบัติของไม้เอ็นจิเนียร์
    นอกจากความสวยงามเป็นธรรมชาติของพื้นผิวไม้ที่ให้ความรู้สึกไม่ต่างจากไม้ธรรมชาติในแบบที่คุ้นชินแล้ว วัสดุประเภทนี้ยังสามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็วมากกว่าการติดตั้งพื้นไม้ธรรมชาติทั่วไป อีกทั้งยังมีความแข็งแรงทนทานที่มากกว่า ด้วยคุณสมบัติที่ยืดหดตัวน้อยและสามารถทนต่อความชื้นได้ดีกว่าไม้ลามิเนต พร้อมทั้งยังมีเฉดสีเข้มและอ่อนให้เลือกอย่างหลากหลายตามการใช้งานที่ต้องการ

    ข้อสังเกตสำหรับไม้เอ็นจิเนียร์
    แม้จะเป็นวัสดุที่ผ่านกระบวนการผลิตจากไม้ธรรมชาติและมีความทนทานแข็งแรง แต่ก็อาจเกิดรอยขีดข่วนและทนต่อแรงกระแทกได้น้อยกว่าไม้ลามิเนต ในขณะที่มีราคาสูงกว่าไม้ลามิเนตส่วนใหญ่ และเป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับการติดตั้งบนพื้นที่เรียบได้ระดับเท่านั้น เพราะจะทำให้เกิดเสียงดังในขณะเดินบนไม้ที่ปูบนพื้นไม่ได้ระดับ

    อ้างอิงเนื้อหา และรูปภาพจาก https://www.sanook.com/home/27131/
    • Admin
    • พฤหัสที่ 6 มกราคม 2565
    • 1 Views